วิธีทำให้ชีวิตให้โล่ง และ เบาขึ้น
|
|
I want to have many friends.
วิธีทำให้ชีวิตให้โล่ง และ เบาขึ้น
|
|
7 ขั้นตอน หยุดแค้นเคืองโกรธ |
พระพยอม กัลยาโณ เคยกล่าวว่า "โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า" เรา ทุกผู้ทุกคนก็รู้ดีว่า การโมโหโกรธเป็นสิ่งไม่ดี เพราะมีแต่จะทำร้ายตนเองงและผู้อื่น แม้เข้าใจขนาดนี้ก็ยังระงับไม่อยู่ มีการโมโหจนได้ เมื่อใครทำอะไรไม่ถูกใจหรือคิดเห็นไม่เหมือน แล้วเรา จะทำอย่างไรเพื่อลดละความโกรธ จะทำอย่างไรเพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา ทำอย่างไรเพื่อมิให้ความขัดแย้งขยายบานปลายกลายเป็นความรุนแรง ในทางพุทธศาสนาได้แนะแนวทางปฏิบัติ 7 ขั้นตอน ระงับความโกรธไว้ดังนี้ 1. ตั้งสติ เมื่อมีเหตุเข้ามากระทบ ควบคุมอารมณ์ อดทนเมื่อต้องเผชิญกับเหตุที่ไม่พึงต้อง การ 2. เมื่อรู้สึกโกรธ ให้ปลุกสติรู้ตัวทันที ให้ ปรับเปลี่ยนความสนใจ หลบหลีกไม่สนใจในเรื่องนั้น ถ้าเป็นไปได้จงย้ายตัวเอง เลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่สร้างความโกรธ เพื่อตัดภาวะปัจจัยที่จะเข้ามากระทบออกไปให้ไกล ตัว 3. ให้นึกเสมอว่า "ความโกรธเป็นศัตรูร้ายทำลายตัวเราเอง" คน ที่โกรธง่าย อารมณ์เสียตลอดเวลา จะมีหน้าตาบึ้งตึงขุ่นมัว เสื่อมสุขภาพจิต ไม่เป็นที่รักของใคร มีแต่คนอยากหลีกลี้หนีหาย ถ้าเราเป็นคนโกรธง่าย ก็มีแต่ทำลายบุคลิกภาพตัวเอง ถ้าเป็นผู้อื่นเขาจะทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ ตัว 4. แผ่เมตตาให้กับคนที่โกรธเรานึก ถึงใจเขาใจเรา ทำไมเขาถึงทำอย่างนั้น ให้เข้าใจธรรมชาติมนุษย์มีทั้งดีและเสีย ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ให้คิดเสียว่าที่เขาโกรธ เพราะเขามีทุกข์ที่ต้องการระบายออก เขาหาคนช่วยเยียวยาอาการ 5. เตือนตนเองเสมอ "อย่าโกรธตอบ" เพราะ ถ้าเราโกรธตอบเท่ากับเราเดินเข้าไปติดกับดักทางอารมณ์ เรากำลังช่วยขยายเหตุการณ์ให้รุนแรง และยืดยาวขึ้น ยิ่งโกรธตอบยิ่งเสียหาย เปรียบดังแสงที่ตกกระทบบนกระจกเงานับร้อยบาน ที่สะท้อนไปสะท้อนมาจนไม่มีสุด สิ้น 6. อยู่ห่างไกลหรือหลีกเลี่ยงการพบปะกับคนที่ขี้โมโห โกรธง่าย การอยู่ใกล้เหมือนเรามีเชื้อไฟที่คุกรุ่นอยู่ข้างกายตลอดเวลา จะทำให้เราเคยชินจนกลายเป็นคนโกรธง่ายไป ด้วย 7. อย่าคิดแบ่งแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย มี แต่เพื่อนร่วมโลก ร่วมทุกข์ ร่วมสุข มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐเลิศเลอ ไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นใดเทียบเคียงได้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม รวมกันเพื่ออยู่ เพื่อสร้างสรรค์ มิใช่เพื่อทำลาย มิใช่เพื่อประหัตประหารห้ำหั่น และนี่คือเป้าประสงค์ของการมีชีวิตอย่างมีคุณค่า |
จริงใจ..สบายจริง คงเป็นเรื่องน่าเศร้า หากคนเราต้องบิดเบือนความจริงในใจ แล้วใส่หน้ากากเข้าหากัน เราคงมีชีวิตอยู่กับความสุขปลอมๆ ท่ามกลางความกลัวที่จะผิดหวัง ทั้งที่ในที่สุดก็ต้องเผชิญหน้ากับมันอยู่ดี ถอกหน้ากากออกดีไหม จะเป็นไรไป หากใครจะอ่านสายตาของเราได้ หรือแม้แต่จะมองทะลุถึงใจของเรา เพราะเมื่อใดก็ตาม ที่เราไม่ต้องปิดบัง อำพราง ไม่ต้องไว้ท่าไว้ทางหรือมีเล่ห์เหลี่ยมใดๆ เมื่อนั่นใจของเราย่อมมีพลังอย่างเต็มที่ ที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้บังเกิดขึ้น ซึ่งต่างค้นพบพลังแห่งความจริงใจ เป็นพลังที่เกิดขึ้นอย่างเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ แต่มีอานุภาพเหลือประมาณ ฉะนั้น.. อย่ากลัวเลย..ที่จะเป็นคนจริงใจ เป็นคนซื่อๆ ใสๆ ปากกับใจตรงกัน ถึงแม้เราไม่เก่ง ไม่ดีเด่น ไม่ได้เป็นคนสำคัญ ขอเพียงเรามีความจริงใจต่อกัน แค่นี้ก็สุขสบายใจ.. .................... บทความจากhttp://www.watsuthatschool.com/viteput/ |
อย่าคิดว่าไม่มีทางแก้ไข... หนทางที่เร็วที่สุดคือ เปลี่ยนอารมณ์... ท่านใดมีทุกข์ ขอให้มันผ่านไปโดยไว..... เมื่อเราเกิดมาย่อมได้รับ ทั้งสุขและทุกข์ ปะปนกันไปอยู่แล้ว แต่เมื่อทุกข์ที่สุดเราควรจะทำอย่างไร ปัจจุบันเราได้ยินข่าวเรื่อง การฆ่าตัวตายบ่อยมาก ในชีวิตของความเป็นหมอ ก็เจอคนที่ฆ่าตัวตายบ่อยมาก ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ หมอได้พูดได้คุยกับคนเหล่านี้มากมาย คำถามที่น่ารู้ก็คือ... การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ควรกระทำหรือไม่ และเราควรจะทำอย่างไรดี บทความนี้จะไม่สนใจว่าการกระทำอย่างนั้นจะมีผลในอนาคตอย่างไร ทำลายตนเองจะบาปมากแค่ไหน ต้องเกิดมาฆ่าตัวตายใช้กรรมอีก 500 ชาติจริงหรือ เพราะถ้าบอกไป ต้องใช้ความเชื่อและศรัทธาในตัวศาสนามาพูดคุยกัน แต่ต้องการจะบอกว่า การทำลายตนเอง เป็นสิ่งที่น่าเสียดายนัก เสียดายโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีอีกมากที่จะตามมา และเสียดายแทนญาติมิตรที่เกี่ยวข้องที่จะต้องได้รับผลกระทบกายและใจตลอด ไป ในเรื่องความทุกข์ที่สุดนี้ ธรรมะในพระพุทธศาสนาสอนให้เราแก้เรื่องนี้ได้ทันที ด้วยความเข้าใจ ด้วยความรู้ที่เราไตร่ตรองเองได้ และด้วยประสบการณ์ในอดีตของเราทุกคน ในกาลามสูตรพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อด้วยเหตุ 10 อย่าง เช่นด้วยเหตุผลว่าผู้สอนเป็นครูของเรา และอื่นๆ รวมสิบประการ แต่จะให้เชื่อก็ต่อเมื่อไตร่ตรองรู้ได้ด้วยตนเองจึงเชื่อ การจะไตร่ตรองให้รู้ได้ด้วยตนเอง จะมีได้ก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์ในเรื่องนั้นมาแล้ว ดังนั้นประสบการณ์ในอดีตจึงเป็นธรรมะที่เราตรึกตรองได้เช่น กัน เมื่อความทุกข์ที่สุดมาถึง สิ่งที่ควรระลึกถึงมีสองสามอย่างคือ หนึ่ง อย่ากลัวว่าความทุกข์นั้นจะมีตลอดไป เพราะมันจะไม่คงอยู่ตลอดไป เดี๋ยวมันก็จางไป สอง อย่าคิดว่าไม่มีทางแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เพราะจะมีทางแก้ไขเสมอ เพียงแต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกเท่านั้น สาม อย่านึกว่าต่อไปนี้เราจะไม่ได้รับสิ่งดีๆ อีก เพราะเมื่อทุกข์ผ่านไป เราจะยังมีความสุข สนุกสนาน ได้อย่างเดิมแน่นอน และสุดท้ายคือ ให้นึกถึงคนข้างหลัง ที่เขาจะต้องเศร้า ได้รับการกระทบกระเทือน จากการกระทำด้วยอารมณ์ของเรา เมื่อทุกข์ที่สุดมาถึงสิ่งที่เราต้องทำทันที ในขณะที่ยังตั้งตัวปรับใจไม่ทันก็คือ รีบหาทางเปลี่ยนอารมณ์ เมื่อเราไปเจอคนอื่นทุกข์สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือช่วยเปลี่ยนอารมณ์เขา ก่อน จากนั้นสติจึงจะตามมา ความทุกข์ที่มากสุดจะแก้ได้เร็วและง่ายที่สุด ด้วยการเปลี่ยนอารมณ์ ดึงอารมณ์ออกจากสถานการณ์นั้นก่อน อาจง่ายๆ เพียงแค่ทำอะไรที่ชอบ ฟังเพลง ดูหนัง หาของอร่อยกิน ชวนเพื่อนไปเที่ยว ชวนคุยเรื่องอื่น ลืมเรื่องทุกข์ไปชั่วคราวก่อน บางทีก็เบาบางได้เอง ที่สำคัญถ้ามีเพื่อนดี จะเบาบางไปได้มากที่สุด ที่ไม่ควรทำคือดื่มสุรา หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ควรหันไปดื่มเหล้าเบียร์ เพราะการกินเหล้าก็ดับทุกข์ได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่จะมีข้อเสียกว่าคือ จะยิ่งโกรธง่าย น้อยใจง่ายและโมโหง่ายกว่าเดิม และไม่มีสติยับยั้งความโกรธ หรืออารมณ์ที่รุนแรงเหล่านั้น เมื่อเปลี่ยนอารมณ์ได้ ใจจะเข็มแข็งมากพอที่จะแก้ในขั้นต่อไป ขั้นต่อไปคือพยายามตั้งใจใช้สติคิดว่าจะแก้ได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล สายไปแค่ไหนแล้วและแก้ได้หรือไม่ ทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่ ถ้าแก้ไม่ได้ ขั้นสุดท้ายคือ ทำให้ใจของเรายอมรับสิ่งนั้นให้ ได้ ใจของเราจะยอมรับได้ คิดได้ ปลงตกได้ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ ท่านพุทธทาสภิกขุ สอนว่า โดยสรุปรวมในธรรมะของพระพุทธเจ้า อาจสรุปเป็นแบบหนึ่งได้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นั่นเป็นเพราะในความเป็นจริง สิ่งทั้งหลายย่อมไม่ได้ดั่งใจเรา มีความไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลาด้วยเหตุและปัจจัย จึงไม่สมควรที่จะไปหลงยึดมั่นหมายว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นของของเรา สิ่งทั้งหลายไม่ได้ดั่งใจทั้งนั้น ไม่ว่าเราจะเป็นใคร รวยเพียงใด อำนาจล้นฟ้าขนาดไหน ต่างก็มีความทุกข์ประจำตัวประจำอยู่ทุกคนทั้งสิ้น เมื่อคนคนหนึ่งประสพอุบัติเหตุขาขาดสองข้าง เขาจะรู้สึกอยากตายไม่อยากอยู่ จะรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว แต่ผ่านไปสักสองปี ไปดูอีกทีกำลังหัวเราะอยู่เพราะดูละคร ส่วนเรื่องขาขาดก็นั่งรถเข็นเอา และก็ชินเสียแล้ว ไม่เสียใจมากเหมือนตอนขาขาดใหม่ๆ บางคนแฟนตายไปเสียใจแทบตายตาม ผ่านไป 3 ปี มีแฟนใหม่แล้ว มีความสุขดีมากเลย ความทุกข์จึงเป็นของไม่เที่ยงเสมอ เช่นเดียวกับความสุข เพียงแต่ว่าตอนทุกข์ ให้ผ่านวันเวลาไปได้ ไม่ด่วนตายไปเสียก่อน เมื่อทุกข์ผ่านไป จะมีสิ่งดีๆ ตามมาได้แน่นอน และเมื่อมองย้อนไป ความทุกข์เหล่านั้นมันก็เท่านั้นเอง เมื่อเราอ่านมาถึงตอนนี้ ก็ขอให้ลองใช้เวลานี้ นึกถึงอดีตที่มีทั้งทุกข์และสุขของเราดู อดีตนั่นแหละที่จะสอนตัวเราในความจริงแห่งธรรมะ ในกาลามสูตรพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ แต่สอนว่าเมื่อเราพิจารณาได้เอง ว่านี้เป็นสิ่งดีหรือไม่ดีแก่จิตใจจึงค่อยเชื่อ การจะพิจารณาได้อย่างนั้น จะต้องมีประสบการณ์ในความรู้สึก แบบนั้นในอดีตมาก่อน อดีตจึงเป็นธรรมะที่สอนใจได้เป็นอย่างดี ทุกข์ที่สุดจะเกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่นที่สุด สิ่งใดที่เรารักมากยึดมากว่าเป็นตัวเราหรือของเรา สิ่งนั้นถ้าขาดหายไปจะทำให้ทุกข์ถึงที่สุด ถ้าเรารักความสวยงาม เมื่อเสียโฉมจะทุกข์ที่สุด ถ้าเรารักสามีหรือภรรยา เมื่อเขานอกใจ หรือเสียเขาไปจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักลูก ลูกหายหรือพิการหรือตายจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักยศถาบรรดาศักดิ์เมื่อสูญเสียจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักตนเอง เมื่อทราบว่าตนป่วยเป็นมะเร็ง เป็นเอดส์ หรือโรคที่รักษาไม่หายก็จะทุกข์ที่สุด แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งนั้นเลย ก็ไม่มีอะไรจะทุกข์กับสิ่งนั้น ไม่มีลูกก็ไม่ทุกข์กับลูก ไม่มีแฟนก็ไม่มีทุกข์จากแฟน ไม่มีทรัพย์สิน ก็ไม่ทุกข์กับทรัพย์สิน หรือถ้าเรามีแต่ทำใจไว้เสมือนไม่มี หรือทำใจไว้ว่าของที่มีมันไม่เที่ยงย่อมแปรปรวนไป ก็จะทุกข์น้อยลง ยิ่งยึดมั่นได้น้อยลงเท่าไรก็ทุกข์น้อยลงเท่านั้นเป็นสัดส่วนไป เมื่อไม่ยึดมั่นก็ไม่ทุกข์เลย หมายความว่าไม่มีอะไรทำให้ทุกข์ใจได้อีกเลย แต่ความเจ็บปวดยังมีตราบเท่าที่มีสังขารร่างกายอยู่ เพียงแต่ความทุกข์กายอันนั้น จะไม่สามารถมากินใจให้ทุกข์ใจได้เลย ความทุกข์ที่เกิดขึ้น มักเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนคิดจะทำความดี เพราะธรรมชาติของเราจะหลงลืมและเพลินในสุข ซึ่งความสุขส่วนมากที่เราชอบ มักจะตั้งอยู่บนความไม่เที่ยงทั้งสิ้น พระพุทธองค์เห็นข้อนี้จึงสละทุกสิ่งออกบวชแสวงหาธรรมะ แต่อย่างเราๆ มักจะไม่คิดเรื่องนี้จนกว่าจะทุกข์ เสียก่อน เราจึงพบว่าคนจำนวนมาก ได้ประพฤติธรรมะ ได้ทำสิ่งดีๆ แก่ตนและผู้อื่นเพราะประสพกับความทุกข์มาแล้ว ดังนั้นเมื่อมีทุกข์นั่นคือเราได้อยู่ใกล้ธรรมะแล้ว ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ก็มักจะมีสิ่งดีโอกาสดี และเราเองก็จะดำรงอยู่ในความดีมากขึ้น ความทุกข์และความสุขเป็นของคู่โลกเช่นนี้มาตลอด เมื่อเราทุกข์หรือพบคนที่ทุกข์ อย่าลืมเปลี่ยนอารมณ์ ตั้งสติหาทางแก้ไข ใช้ความดีเอาชนะสิ่งไม่ดี ทุกข์ย่อมไม่เที่ยง ย่อมผ่านไป เป็นธรรมดา และเราก็มีโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดี ได้ปรับปรุงตนเป็นคนดีเสมอ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก |
เปลี่ยนวิธีเผชิญหน้ากับปัญหาครั้งหนึ่ง...ขณะที่กำลังนั่งอ่านหนังสือเพลินๆ อยู่ในสวนสาธารณะ ฉันได้ยินเสียงร้องไห้ ดังใกล้เข้ามา หลังจากเงยหน้าขึ้นมาดู ก็เห็นผู้ชายวัยคุณพ่อคนหนึ่งกำลังปั่นจักรยานผ่านตรงหน้า ตามหลังมาด้วยหนูน้อยเจ้าของเสียงอายุประมาณ 7-8 ขวบ ที่ขานั้น...กำลังปั่นจักรยานคันน้อย แต่ปาก...ก็ตะเบ็งเสียงร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ หวังจะให้คุณพ่อ หันกลับมาช่วย จากการประเมินสถานการณ์ ฉันคิดว่าเด็กน้อยคนนี้กำลังอยากถอดใจ เพราะคิดว่าตัวเองคงปั่นจักรยานต่อไปไม่ไหวแล้ว แต่งานนี้- -ดูเหมือนคุณพ่อจะไม่ใจอ่อนง่ายๆ กลับปั่นจักรยานของตัวเองต่อไปเรื่อยๆ ส่วนคุณลูก...ก็ตะเบ็งเสียงต่อไปเรื่อยๆ เช่นกัน จนกระทั่ง อีกอึดใจหนึ่ง คุณพ่อก็เลี้ยวรถกลับมา แต่สิ่งที่เกินความคาดหมายของฉันก็คือ คุณพ่อ...ไม่ได้กลับมาช่วย แต่เขากลับมาเพื่อบอกประโยคหนึ่งกับลูกตัวเองว่า “ น้อง......ครับ พ่อว่า ให้ลูกเปลี่ยนจากออกแรงตะเบ็งเสียง มาเป็นออกแรงปั่นจักรยานดีกว่านะครับ” แล้วคุณพ่อใจเด็ด ก็ปั่นจักรยานต่อไป... ส่วนลูกชาย...ก็ค่อยๆลดเสียงลง แล้วปั่นจักรยานคันน้อยต่อไปอย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก ......................................... หลายครั้ง...ที่บางคนอาจเคยทำตัวคล้ายๆกับเด็กน้อยคนนี้ แต่เราจะรู้บ้างมั้ยว่า ในตัวเรา ก็สามารถเปลี่ยนวิธีคิดของตัวเอง จาก ‘เด็กน้อย’ เป็น ‘คุณพ่อ’ ได้ในเวลาเดียวกัน เมื่อไหร่ที่เกิดความรู้สึกว่าตัวเองกำลัง ‘ไม่ไหว’ อยากให้ลองถามตัวเองดูใหม่ว่า ที่ ‘ ไม่ไหว ’ นั้นน่ะ เป็นเพราะเรา...แค่ไม่อยากจะสู้รึเปล่า มีความจริงอันหนึ่งที่หลายคนอาจจะลืม ก็คือ ก่อนที่ทุกคนจะหมดแรงนั้น ธรรมชาติยังมอบ ‘ กำลังเฮือกสุดท้าย ’ ให้เสมอ และที่เราไม่หยิบมันออกมาใช้ ก็เพราะเราลืมหรือกำลังเหนื่อยกับการตีโพยตีพายอยู่รึเปล่า ในทุกปัญหาย่อมมีวิธีคลี่คลายที่ถูกจุดและมีช่วงเวลาแก้ที่เหมาะสม อยู่ที่เราเองเท่านั้น ว่าจะเริ่มต้นเมื่อไหร่ และเปลี่ยนแปลงมันอย่างไร ที่สำคัญอย่ายอมแพ้...ถ้ายังไม่หมดเวลา. ........................................................................................................ จากหนังสือ : แปลงเพาะชำ วันดีๆ ขอบ คุณบทความจาก...ทำดีดอทเน็ต |