คำบูชา พระพิฆเณศ
คำบูชา พระพิฆเณศ
บทสวดมนต์ หรือ คาถา สำหรับบูชาพระพิฆเนศนั้น ในแบบดั้งเดิมโบราณ มีเป็นร้อยๆ กว่าบท..
ชาวพุทธสามารถตั้งนะโม 3 จบแล้วค่อยสวดมนต์บูชาเทพทางพราหมณ์ได้ แต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์จะเริ่มสวดบูชาพระพิฆเนศเป็นอันดับแรก แล้วต่อด้วยการสวดบูชาเทพองค์อื่นๆที่นับถือเพิ่มเติม
ขั้นตอนการบูชาพระพิฆเนศ
เพื่อการสวดบูชาให้ได้ผลสูงสุด ควรเลือกเวลาที่เงียบสงัด เช่น เช้าตรู่ หรือ ก่อนนอน จะได้ไม่มีเสียง รบกวนจากผู้อื่น
1. นำของสังเวยทั้งหมด (น้ำ นม ผลไม้ ขนมหวาน) วางไว้หน้าเทวรูป
2. ดอกไม้ ถ้าเป็นช่อหรือดอกเดียวให้วางไว้ข้างหน้า ถ้าร้อยเป็นพวง สามารถนำไปคล้องที่พระกร หรือศาสตราวุธของเทวรูปได้
3. จุดกำยาน ธูป ประทีป เทียน
4. การพนมมือ ให้พนมมือแบนราบติดกันนะครับ ไม่ใช่แบบดอกบัวตูม แล้วตั้งจิตให้สงบนิ่ง
5. เมื่อจิตสงบนิ่งแล้ว ก็เริ่มสวดบูชา...
การสวดมนต์นั้น ท่านสามารถใช้บทสวดใดก็ได้เพียงบทเดียว หรือจะสวดหลายๆ บทให้ต่อเนื่องกันก็ยิ่งดี
การสวดมนต์นั้น หากยังจำบทสวดหลายๆบทไม่ได้ ก็ให้เลือกมา 1 บทที่จำได้ส่วนใหญ่นิยมเป็น โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
หากมีเวลาน้อย สวดเพียง 1 จบก็เพียงพอ แต่ถ้ามีเวลามาก แนะนำให้ทำสมาธิด้วยการสวดมนต์ โดยวนไปเรื่อยๆ หรือจะเป็น 108 จบก็ดี
6. เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้ว ก็ขอพรตามประสงค์
จากนั้นให้กล่าวคำว่า "โอม ศานติ...โอม ศานติ...โอม ศานติ" เพื่อขอความสันติให้บังเกิด เป็นอันเสร็จสิ้น
จะบูชาอย่างไรก็ตาม หลักสำคัญคือ ขณะสวดบูชาให้ตั้งสติให้แน่วแน่ สร้างบรรยากาศให้เกิดสมาธิ สวดมนต์ให้ถูกต้อง บูชาด้วยใจที่บริสุทธิ์ ไม่ขอพรด้วยความโลภ ไม่ขอพรที่มีการสาบแช่งผู้อื่น ไม่ขอพรด้วยความท้าทาย หากปฏิบัติขั้นตอนใดผิดพลาดก็ให้ขอขมา บารมีขององค์ท่าน ก็คุ้มครองเราได้
คาถาบูชา บทสวดมนต์ง่ายๆ สำหรับบูชาพระพิฆเนศ
หมายเหตุ : บทสวดของพราหมณ์-ฮินดู จะลงท้ายด้วย...นะมะห์ หรือ นะมะฮา หรือ นะมะหะ ใช้คำไหนก็ได้ไม่ผิดเพี้ยน ภาษาอังกฤษจะเขียนว่า NAMAH
โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
ขอความสำเร็จในด้านต่างๆ มีโชค และมีทรัพย์เงินทอง สมความปรารถนา
(บูชาแบบสั้นๆ เมื่อเดินผ่านตามเทวาลัย, วัดต่างๆที่พระพิฆเณศประดิษฐานอยู่)
โอม พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
(บทสวดของไทย สวดทุกวันเพื่อเป็นสิริมงคล)
โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ
พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง
สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม
(พระพิฆเณศวร์ คาถาพระพิฆเณศวร์ใช้สวดเพื่อขอพรหรือปัดเป่าเหตุร้าย )
โอม ศรีคะเนศายะนะมะ
ชะยะคะเณศะ ชะยะคะเณศะ ชายะคะเณศะ
เทวา มาตา ชากี ปะระ วะตี ปิตามะหา เทวา ละฑุวัน
กา โกคะ ละเค สันตะ กะเร เสวา เอก ทันตะ
ทะยาวันดะ จาระ ภุชา ธารี มาเถ สินทูระ เสเห
มูเส กี อะสะวารี อันธะนะ โก อางขะ เทตะ
โก กายา พามณะนะ โก กุตรร เทตะ
โกทินะ นิระทะนะ มายาฯ
(คาถาบูชาพระพิฆเนศ ใครบูชาจะพ้นจากอุปสรรค ประสบความสำเร็จ)
คาถาบูชาพระพรหม
คาถาบูชาพระพรหม
โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัม ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัมทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัม สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเต นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ
คาถาบูชาพระพรหม แบบย่อ
โอม อหัม ปรัหมา อัสมิ
คาถาบูชาพระพรหม ผู้ใดสักการะและบูชาพระพรหม จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหลาย
บทสวดขอพรพระตรีมูรติ+ความเชื่อเกี่ยวกับพระตรีมูรติ
ความเชื่อเกี่ยวกับพระตรีมูรติ
คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าหากบูชา “พระตรีมูรติ” จะมีความหมายที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทั้งในชีวิต ความรัก และการงาน แต่ในปัจจุบัน ได้รับการเทิดทูนจนกลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ ของการประทานความรัก โดยเทวรูป “ตรีมูรติ” ที่อยู่หัวมุมด้านซ้ายของห้างเซ็นทรัลเวิลด์(เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เก่า) ตรงข้ามกับพระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ มักจะมีหนุ่มสาวจำนวนมากไปสักการบูชาและขอพรเกี่ยวกับความรัก หรือการขอพรให้มีบุตร
การสักการะบูชา
เวลาในการสักการะ คือ ทุกวันพฤหัสฯ ช่วงเช้า 9.30 น. และอีกครั้งในช่วงกลางคืน 21.30 น. การสักการะให้นำเทียนสีแดงหรือสีเหลือง 1 เล่ม ธูปสีแดง 9 ดอก พร้อม พวงมาลัยดอกกุหลาบสีแดงไปด้วย อาจจะมีของสักการะอย่างอื่นไปเพิ่มก็ได้ แต่เน้นสีแดง ในขณะที่ขอพรให้เตรียมกระดาษจดสิ่งที่ต้องการขอพรจากท่านตรีมูรติลงไปอย่างละเอียด พร้อมกล่าวชื่อ นามสกุล รวมทั้งที่อยู่ของตนเองไปด้วย
บทสวดขอพรพระตรีมูรติ
สาธุ สาธุ สาธุ อุกาสะ ข้าแต่องค์พระตรีมูรติที่ยิ่งใหญ่ข้าพเจ้า
นาย,นาง............................( บอกชื่อ นามสกุล และที่อยู่ )
กราบเบื้องบาทแด่องค์ท่านแล้ว พระองค์เคยประทานพรแด่ทวยเทพทั้งหลาย
ผู้ปฎิบัติดี ผู้ปฎิบัติชอบทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้ามากราบเบื้องบาทแด่พระองค์ท่านแล้ว
จึงขอพรจากพระองค์ซึ่งประทานไว้ ณ บัดนี้ ( .....ขอพร..... )
เตสัง อัมหากัง พรใดอันประเสริฐจงมาบังเกิดแด่ข้าพเจ้า
ตุมหากัง และจงบังเกิดแด่ผู้คุ้มครองข้าพเจ้า
ฑีฆายุกา มหาเดชา มหาปัญญา มหาโภคา มหายะสา มหาลาภา ปัญจวีสติ
ภยันจะ ทวัตติงสะ ฉันนะวุฒิติโรคัญจะ โสระสะ อุบัติอันตรายยัญจะ อัยยัญติกะ
อันตรายยัญจะ พาหิระ อันตรายยัญจะ วิระหิตะวา โหตุ ยาวะชีวัง พระวิสตีติ (พระตรีมูรติ)
ควรขอพรจากองค์พระตรีมูรติในเรื่องที่ดีงาม ถูกต้องตามทำนองครองธรรม พรนั้นก็จะสัมฤทธิ์ผลตามต้องการ
วิธีการบูชา
ธูปแดง ๙ ดอก, เทียนแดง, ดอกกุหลาบแดง และ ผลไม้
ขอให้ท่านตั้งจิตเป็นกุศล และขอพรจากองค์พระตรีมูรติในเรื่องที่ดีงาม ถูกต้องตามทำนองครองธรรม พรนั้นก็จะสัมฤทธิ์ผลตามต้องการ
คำอธิษฐานเมื่อออกรถและเดินทางไกล...
สาธุ พุทธัง อาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง
ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้คำอธิษฐานของข้าพเจ้าศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์จงทุกประการเทอญ
ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระสาวกทุกองค์ พระโพธิสัตว์ทุกองค์ พรหมทุกองค์ เทวดาทุกองค์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่าน จงโปรดเมตตามาคุ้มครองรักษารถคันนี้ ให้สะดวกปลอดภัยปราศจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวงด้วยเทอญ
ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้บุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาทุกภพทุกชาติจงรวมตัว ขออุทิศให้แก่พระศรีอาริย์ เจ้าแม่กวนอิม ท้าวสักกะเทวราช ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ และเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้ท่านจงอนุโมทนาและจงโปรดเมตตาส่งเทวดาที่เป็นสัมมาทิฏฐิมาคุ้มครองรักษารถคันนี้ด้วยเทอญ
เทวดาองค์ใดที่โปรดเมตตามาคุ้มครองรักษารถคันนี้ ในตอนนี้ก็ดี หรือที่จะมีเมตตามาคุ้มครองรักษารถคันนี้ในโอกาสกาลต่อไปข้างหน้าก็ดี ข้าพเจ้าขอตั้งคำอธิษฐานจิตไว้ว่าขอให้ท่านได้มีส่วนในบุญกุศลทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้เคยบำเพ็ญมา ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติจงทุกประการด้วยเทอญ และขอให้ท่านจงโปรดเมตตาคุ้มครองรักษารถคันนี้และผู้โดยสารให้ปราศจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง คิดประกอบกิจการอันใด ขอให้สำเร็จเป็นอัศจรรย์ด้วยเหตุแห่งบุญบารมีของท่านทั้งหลายได้โปรดเมตตาบันดาลให้เป็นไปในกาลทุกเมื่อด้วยเทอญ
ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้บุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาทุกภพทุกชาติจงรวมตัว ขออุทิศให้แก่จิตวิญญาณตลอดรายทางที่ข้าพเจ้าขับรถคันนี้ผ่านไป ขอให้ท่านจงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วจงทุกประการ และขอให้ท่านจงคุ้มครองรักษาปกป้องคุ้มกันภัยให้แก่รถคันนี้ให้ปราศจากอุปสรรคเภทภัยที่จะมาเบียดเบียนบีทาในตลอดทุกเส้นทางที่ขับผ่านไปในกาลทุกเมื่อด้วยเทอญ
พุทธัง ปสิทธิ ธัมมัง ปสิทธิ สังฆัง ปสิทธิ
ขอบารมี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า ประสิทธิให้คำอธิษฐานของข้าพเจ้านี้สำเร็จสมความมุ่งมาดปรารถนาจงทุกประการเทอญ สาธุ
บทสวด...บูชาพระสีวลี(พระฉิม)
คำบูชาพระสีวลี (พระฉิม)
อิมินา สักกาเรนะ สีวะลีเถรัง อะภิปูชะยามิ
เมื่อบูชาแล้วกำหนดภาวนาในใจว่า
สีวลี จะ มะหาเถโร อินโท พรัมมาจะ ปูชิตัง สัพพะลาภัง ประสิทธิเม เถรัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุเม ฯ
คำบูชาพระสิวลี
(ใช้สวดนำทุกวัน)
นะชาลีติประสิทธิลาภา ปะสันนะจิตตา สะทา โหนติ ปิยังมะมะ สัพเพชะนา พะหูชะนา สัพเพทิศา สะมาคะตา กาละโภชะนา วิกาละโภชนา อาคัจฉันติ ปิยังมะมะ ธัมมะจักกัง ปะทัง สุตวา พุชฌิตะวา อัตตังปะทัง สันติ อะระหาโลเก โลกานัง หิตะการะณาภันเต คะวัมปะตินามะ ตีสุ โลเก สุปากะโต พรหมะปุตโต มะหาเถโร อะระโห เชฏฐะโก มุนิ นัตถิ เถโร สะโม อินทะคันธัพพา อะสุรา เทวาสักโก พรหมาภิปูชิโต นะโม พุทธัสสะ คะวัมปติสสะ นะโม ธัมมัสสะ คะวัมปะติสสะ นะโม สังฆัสสะ คะวัมปะติสสะ สุกขาสุกขะ วะรัง ธัมมัง ธัมมะจักกัง ปะวะรัง วะรัง ฯ
บทสวด...แผ่เมตตาพรหมวิหารสี่
บทเมตตา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกันเถิด
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจเถิด
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
บทกรุณา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
จงพ้นจากทุกข์เถิด
บทมุทิตา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
มา ลัทธะสัมปัตติโต วิคัจฉันตุ
จงอย่าได้ปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด
บทอุเบกขา
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
กัมมัสสะกา
เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาทา
เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ
เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระณา
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสันติ
กระทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา
ดีหรือชั่ว
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
บทสวด...มงคลจักรวาฬใหญ่
...
มงคลจักรวาฬใหญ่....
บทสวด
สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิการัสสะ
สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ
อะสีตยาพยัญชะนานุภาเวนะ
อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ
ฉัพพัณณะรังสิยานุภาเวนะ
เกตุมาลานุภาเวนะ
ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ
ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ
ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาเวนะ
สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ
พุทธานุภาเวนะ
ธัมมานุภาเวนะ
สังฆานุภาเวนะ
เตชานุภาเวนะ
อิทธานุภาเวนะ
พะลานุภาเวนะ
เญยยะธัมมานุภาเวนะ
จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ
นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ
อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ
อัฎฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ
ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ
จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ
ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ
สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ
เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ
สัพพะปะริตตานุภาเวนะ
ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ
ตุยหัง สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาวินัสสันตุ
สัพพะอันตะรายาปิ วินัสสันตุ
สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ
ฑีฆายุตา ตุยหัง โหตุ
สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทาฯ
อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา อารักขะ
กา เทวะตา สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุฯ
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเวฯ
คำแปล
ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง
ผู้มีบุญญาธิการอันกำหนดมิได้ ด้วยพระฤทธิ์อันใหญ่ และพระคุณอันใหญ่
สำเร็จด้วยพระสิริ พระปัญญาเป็นเครื่องตั้งมั่น พระปัญญาเป็นเครื่องรู้ พระเดชและพระชัย ผู้สามารถห้ามสรรพอันตราย
ด้วยอานุภาพแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ด้วยอานุภาพแห่งมงคล ๑๐๘ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเกตุมาลา
ด้วยอานุภาพแห่งพระบารมี ๑๐ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระอุปปารมี ๑๐ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระปรมัตถปารมี ๑๐ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธรัตนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมรัตนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระสังฆรัตนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเดช ด้วยอานุภาพแห่งพระฤทธิ์ ด้วยอานุภาพแห่งพระกำลัง ด้วยอานุภาพแห่งพระเญยยธรรม
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ ๘ หมื่น ๔ พัน ด้วยอานุภาพแห่งโลกุตตรธรรม ๙ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งอริยมรรค ๘ ประการ
ด้วยอานุภาพแห่พระสมาบัติ ๘ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระอภิญญา ๖ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณในสัจจะ ๔
ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณมีกำลัง ๑๐ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระสัพพัญญุตญาณ
ด้วยอานุภาพแห่งพระเมตตา พระกรุณา พระมุทิตา พระอุเบกขา แห่งพระปริตรทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งอันระลึกถึงพระรัตนตรัย
แม้เหล่าโรค โศก อุปัทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส ทั้งปวง ของท่าน จงสิ้นสูญไป แม้เหล่าอันตรายทั้งปวง จงสิ้นสูญไป
สรรพดำริทั้งหลายของท่านจงสำเร็จด้วยดี ความเป็นผู้มีอายุยืนจงมีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความเป็นอยู่สิ้น ๑๐๐ ปี ทุกเมื่อ
เทพเจ้าทั้งหลาย ผู้คุ้มครองสถิตย์อยู่ในอากาศและบรรพตไพรสณฑ์ ภูมิสถาน
แม่น้ำคงคามหาสมุทร จงตามรักษาท่านทั้งหลายทุกเมื่อ เทอญฯ
บทสวดมนต์พระธาตุประจำปีเกิด
ปีชวด
นมัสการ พระธาตุศรีจอมทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
คำบูชา
นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี โลหะกูเฏ ปะติฎฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ กิตติมันตัง มะโนหะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา อังคะวะเย ปุเรรัมเม
โกวิลา รัคคะปัพพะเต สะหิเหมะคูหา คัพเภ ทักขิณะโมลี
ปีฉลู
นมัสการ พระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
คำบูชา
ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง ปะติฎฐาลัมภะ กัปปะปุเร เทเวนะ คุตตา อุตตุราภิทัยยา นะมามิ หันตัง วะระชินะธาตุง กุมาระกัสสะปะ นะลาตะธาตุโย เมฆิยะมะหาเถโร กะนะธาตุง ฐะเปติ มหาฐาเน เจติยัง ปูชิตา นะระเทเวหิ
อะหังวันทามิ ธาตุโย
ปีขาล
นมัสการ พระธาตุช่อแฮ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
คำบูชา
โกเสยยะ ธะชัคคะ ปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม พุทธะ เกสาธาตุ ปะติฏฐิตา อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส
ปีเถาะ
นมัสการ พระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน
คำบูชา
ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง ปะติฎฐิตา นันทะกัปปะเกปุเร เทเวนะ คุตตา วะระพุทธะธาตุง จิรัง วันทามิ หันตัง ชินะธาตุโย โสตะถาคะตัง อะหังวันทามิ
ปีมะโรง
นมัสการ พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์และพระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์
จังหวัดเชียงใหม่
คำบูชา
อิติปะวะระสิหิงโต อุตตะมะยะโสปิ เตโช ยัตถะ กัตถะ จิตโตโส สักกาโร อุปาโท สะกาละพุทธะ สาละธัง โชตะยันโตวะ ทีโป สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโนยะพุทโธติ นะมามิ สิหิงคะพิมพัง สุวัณณาภิรัมมัง ลังกาชาตัง
โสภาภิโสภัง สะราภิกันตัง นะมามิหัง
ปีมะเส็ง
นมัสการ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ วัดหนองบัว จังหวัดอุบลราชธานี
คำบูชา
ปะฐะมัง โพธิปัลลังกัง ทุติยัง อะนิมิสสะกัง ตะติยัง จังกะมะ เสฏฐัง จตุตะกัง ระตะนะฆะรัง ปัญจะมัง อะชะปาละนิโคธัง ฉัฏฐัง ราชะยะตะนัง สัตตะนัง มุจจะลิทัง อะหังวันทามิ ทูระโต (หรือจะบูชาต้นโพธิ์ตามวัดต่าง ๆ ก็ได้ คำบูชาต้นโพธิ์ “โพธิรุกเขปูชิโน”)
ปีมะเมีย
นมัสการ เจดีย์พระบรมธาตุ วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก
คำบูชา
สัมมา สัมพุทธะ นะลาตะอัฎฐิ จะตุเกสาธาตุยา คันธะวะรังฐิตัง ปะระมาธาตุ เจติยัง อะหังวันทามิ สัพพะทา
ปีวอก
นมัสการ พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
คำบูชา
ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฎฐิมายะ อุปะริมายะ ทิสายะ กะปะณะศิริสะมิง ปันพะเตมะกัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรังคธาตุง สิระสา นะมามิ เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง ระตะนัง ปะณีตัง พุทธะ อุรังคะเจติยัง อะหังวันทามิ สัพพะทา
ปีระกา
นมัสการ พระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
คำบูชา
สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิเสฎฐัง สะหะอังคุลิฎฐิง กัจจายะเนนา นิตะปัตตัปปะการัง สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิธาตุง
ปีจอ
นมัสการ พระธาตุเจดีย์วัดเกตการาม จังหวัดเชียงใหม่
คำบูชา
ตาวะติงสายะ ปุรัมเม เกสะจุฬามะณี สะรีระปัพพะตา ปูชิตา สัพพะเทวานัง ตังสิระสาธาตุ อุตตะมัง อะหังวันทามิ สัพพะทา
ปีกุน
นมัสการ พระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย
คำบูชา
อิมัสสะมิง ภัทกะกัปเป จะตุพุทธา พุชูฌะติตะวา กะกุสะนูระ โกนาคะมะนะ กัสสะปะ โคตุมะราชะคะเห จะระติปิณะฑายะ มิถิลายะนะคะเรสิ จะรัตติ ปิณะฑายะ อะตะตีตา พุทธาเน อิมัสสะมิง ปัพพะตาคิริ ปะทะ กังนะสิทิตะวา เมตเตยยะ อะนาคะเต จะระติปิณะฑายะ ราชะคะเห อิมัสสะมิง ฐาเนนะสิทิสิริ สุภะปะวะ รังมะคะโล ตะโมลากะถามุนิราชะ สาตะระนะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง อะหังวันทามิ สัพพะทานะตัง วะชิระธาตุโย อะระหังวันทามิ สัพพะทา
คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
ให้ท่านบูชา ธูปแขก 9 ดอก มะลิขาว 9 ดอก ตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงท่านขอบารมีต่างๆ ที่ต้องการแล้วสวดพระคาถาดังนี้
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อะติภะคะวา ( 3 จบ )
คาถาเรียกความจำ ปัญญาดี
คาถาพระอินทร์
สหัสสเนตโต เทวินโต ทิพพจักขุง วิโสทายิ
(คาถาบทนี้เหมาะสำหรับเด็กนักเรียน บอกว่าเวลาก่อนที่จะดูหนังสือ ให้ไหว้พระ นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระอริยสงฆ์ นึกถึงบิดามารดา ความดีของท่าน นึกถึงครูบาอาจารย์ แล้วนึกถึงพระอินทร์เจ้าของคาถา แล้วว่าสัก 1 จบ แล้วก็ดูหนังสือ เมื่อจะเลิกจากอ่านหนังสือก็ว่าสักอีก 1 จบ วันแรก ๆ ก็อาจจะจำไม่ได้ แต่วันต่อไปก็อาจจะคล่องตัวขึ้นมาเอง)
คาถาปัญญาดี
โอมปุปุ ทะลุปัญญา ปัญญาปุปุฯ
อีกบทหนี่ง
ปุปุ ทะลุปัญญา พุทธชักมา พาคิดได้ อัธยังยะ สว่างวะดังดวงแก้ว
บทสวดบูชาพระพุทธรูปประจำวันเกิด
บทสวดบูชาพระพุทธรูปประจำวันเกิด
1. วันอาทิตย์...พระพุทธรูปปางถวายเนตร...
(สวดกลางวัน)
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หิรัสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หิรัสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พราหมะณา เวทะคะ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตะวา โมโร จะระติ เอสะนา
(สวดกลางคืน)
อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะรัสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หิรัสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
เย พราพมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตะวา โมโร วาสะมะกัปปะยีตี
สวดคาถานี้ ๖ จบ
2. วันจันทร์...พระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จะมานาโป
สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป
สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป
สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
สวดคาถานี้ ๑๕ จบ
3. วันอังคาร...พระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือ ปางโปรดอสุรินทราหู
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยิมหิ เจวานุยัญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภาณามะ เห
สวดคาถานี้ ๙ จบ
4. วันพุธ...พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร แยกเป็น ๒ วันคือวันพุธ (กลางวัน) กับวันราหู (วันพุธกลางคืน) วันพุธ(กลางวัน)
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัต สัพพะทา สัพพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตัมภะณามะ เห
สวดถาคานี้ ๑๗ จบ
วันราหู(กลางคืน)...พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์
กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรุโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน จ มุญเจยยะ จันทิมันติฯ
วันพฤหัส...พระพุทธรูปปางนั่งขัดสมาธิ หรือ ปางสมาธิ
อัตถิ โลเก สีละคุโณ สัจจัง โสเจยยะ นุททะยา
เตนะสัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง
อาวิชชิตะวา ธัมมะพะลัง สะริตะวา ปุพพะเก ชิเน
สัจจะพะละมะวัสสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา
มาตาปิตา จะ นิกขันตา ชาตะเวทะ ปะฏิกกะมะ
สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี
วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี
สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ ฯ
สวดคาถานี้ ๑๙ จบ
หรือสวดบทนี้
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง
ยัสสะ เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ
เถรัสสะ สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง
กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
วันศุกร์...พระพุทธรูปปางรำพึง
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสการิภิ
ปะริสานัญจะ ตัสสันนะ มะหิง สายะ จะ คุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
สวดคาถานี้ ๙ จบ
หรือสวดบทนี้
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโย รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
วันเสาร์...พระพุทธรูปปางนาคปรก
ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ
ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ
สัญจิจะ ปาณัง ชีวิตา
โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต
โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ
การสวดคาถาบูชาพระพุทธรูปประจำวันเกิด ควรร่วมสวดกับบทสวดมนต์อื่นๆ เพื่อรวมเป็นพลังที่กล้าแข็ง เสริมแรงบันดาลดลให้ชีวิต เช่นเดียวกับการรับประทานอาหาร เราควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ จึงจะได้รับสารอาหารครบถ้วน ถ้าหากรับประทานแต่หมู่เดียว ร่างกายแข็งแรงแต่ไม่เต็มที
บทสวดมนต์...อภยปริตร
บทสวดอภยปริตร...สวดก่อนนอน ทำให้ไม่ฝันร้าย
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
บทสวดมนต์...บารมี 30 ทัศน์
บารมี 30 ทัศน์ คือ คาถาและคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ประเสริฐ กล่าวถึงแนวทางสำหรับผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อบรรลุโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ซึ่งพระพุทธองค์ได้ปฏิบัติมาแล้วในภพชาติต่างๆ ประมาณ 500 ชาติ ซึ่งบารมี 30 ทัศน์
คำ ไ ห ว้ บ า ร มี ๓๐ ทั ศ น์
ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน ,
อิติปิ โส ภะคะวา
อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโนเมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน,
อิติโส ภะคะวา
ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง
...................................................
คำ แ ป ล คำ ไ ห ว้ บ า ร มี ๓๐ ทั ศ น์
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง บารมีคือศีล
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งศีลบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือศีลอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเนกขัมมะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเนกขัมมะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเนกขัมมะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือปัญญา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งปัญญาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือปัญญาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือวิริยะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งวิริยะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือวิริยะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือขันติ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งขันติบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือขันติอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือสัจจะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสัจจะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือสัจจะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออธิษฐาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอธิษฐานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออธิษฐานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเมตตา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเมตตาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออุเบกขา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออุเบกขาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทสบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทสบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทสบารมีอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
บทสวด...โพชฌังคปริตร
โพชฌังคปริตร
โพชฌังโค
สวดต่ออายุผู้ป่วย
โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์
วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว
ภาวิตา พะหุลีกะตา
อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม
โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
โรคก็หายได้ในบัดดล
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ
สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก
มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.