วิธีง่ายๆ ในการลืมความหลัง จากท่าน ว.วชิรเมธี
ปุจฉา - ทำอย่างไร จะทำให้ลืมเรื่องการทำบาปในอดีตที่ผ่านมาได้คะ
วิสัชนา
คำว่า “รู้สึกตัว” ไม่ได้หมายความตื้นๆ แค่การรู้สึกตัวอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ของคนที่ยังไม่หลับ ไม่เมา ไม่สมประกอบ
แต่หมายถึง การ “มีสติ” อยู่ตลอดเวลาที่คิด พูด ทำ
คนที่คิดก็รู้ว่ากำลังคิด พูดก็รู้ว่ากำลังพูด ทำก็รู้ว่ากำลังทำ
เดินก็รู้ว่ากำลังเดิน กินก็รู้ว่ากำลังกิน ฯลฯ
สติคมชัดอยู่ตลอดเวลาที่ตาตื่น กายเคลื่อนไหว ใจครุ่นคิด
จนกระทั่งสามารถที่จะคิดอย่างประณีต พูดอย่างประณีต และทำอย่างประณีตโดยอัตโนมัติ
ถึงขั้นที่ใจไม่ลอยออกไปจากเรื่องที่คิด กิจที่ทำ คำที่พูด
หากแต่มีสติเต็มอยู่ตลอดเวลาในลักษณะ “ตัวอยู่ไหน ใจอยู่นั่น”
ทำได้อย่างนี้ จึงจะเรียกว่าเป็นคนที่ “รู้สึกตัว”
คนที่มีความรู้สึกตัวอย่างนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคนที่ “ตื่นรู้” ก็ได้
เมื่อตื่นรู้ อดีตก็ล่วงเข้ามาสู่ความครุ่นคิดไม่ได้
ในใจจึงมีแต่ความ “รู้สึกตัว” อยู่ในปัจจุบันขณะเท่านั้น
การทำได้เช่นนี้ คือวิธีที่ความหลังไม่มีทางจะเกาะแกะกับจิตใจได้อีกเลย
อย่าลืมว่า ความขาดสติ คือ ยาชุบชีวิตชั้นดีของความผิดบาปในอดีต
และความรู้สึกตัว ก็คือมีดผ่าตัดที่สามารถหยุดอดีตเอาไว้ให้ไม่มีตัวตน
แต่หากทำเช่นนี้ไม่ได้ ก็ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ดังนี้
(๑) หาอะไรทำอยู่เสมอ
การทำงานอยู่เสมอ คือ วิธีแยกจิตออกมาจากความหลัง
เมื่อพรากจิตจากความหลังมาอยู่กับการทำงานจนชิน จิตก็ไม่ฟุ้ง ไม่ย้อนกลับไปในอดีตอีก
เมื่อจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า จิตก็ผ่องใส
หากทำได้บ่อยๆ ความเข้มข้นของบาปในอดีตก็จะเจือจางลงไปโดยอัตโนมัติ
(๒) ฝึกสมถสมาธิ
กล่าวคือ ฝึกสมาธิด้วยการบริกรรมหรือการเพ่งอะไรก็ได้ที่ทำให้จิตใจมีที่ พัก ที่เกาะ ที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยว
วิธีที่นิยมใช้ก็คือ การบริกรรม “พุท” เวลาหายใจเข้า และ “โธ” เวลาหายใจออก
หรือจะใช้คำอื่นใดก็ได้ที่เมื่อบริกรรมในใจแล้ว ทำให้จิตหายฟุ้งซ่าน แน่วแน่ เป็นหนึ่ง ผ่องใส
เมื่อฝึกจนจิตนิ่ง และผ่องแล้ว จิตจะมีความสุขอยู่กับ ปีติสุข มีความแช่มชื่นเบิกบาน ผ่อนคลาย
เมื่อจิตได้กำซาบความสุชนิดใหม่ที่เกิดจาก สมาธิภาวนาอยู่เสมอแล้ว
ความผิดบาปในใจก็ไม่ลอยฟุ้งซ่านมากัดกร่อนปัจจุบันได้ อย่างเดิมอีก
(๓) ฝึกวิปัสสนาสมาธิ
ในสังคมไทยทุกวันนี้ มีคน ที่จมอยู่ในอดีตจำนวนมาก
ที่ได้พรากตัวเองออกจากอดีตอันแสนเจ็บปวดด้วยการ ฝึกวิปัสสนากรรมฐา
แล้วต่างก็ค้นพบว่า คนเราสามารถเป็นอิสระได้ไม่ใช่แค่ จากอดีตที่ไม่อยากจำเท่านั้น
ทว่าเรายังสามารถเป็นอิสระได้แม้จากความทุกข์ทุกชนิดที่คอยบั่นทอนชีวิตให้ขาดชีวาได้อีกด้วย
ทั้งนี้ โดยวิธีง่ายๆ ที่ เรียกว่า การดูใจตัวเอง (วิปัสสนาสมาธิ) ให้เป็นเท่านั้น
............................
(จากนิตยสารแพรว)
ปุจฉา - ทำอย่างไร จะทำให้ลืมเรื่องการทำบาปในอดีตที่ผ่านมาได้คะ
วิสัชนา
... | ความหลังก็คงไม่ต่างอะไรกับทากตัวน้อยๆ หมายความว่า ทากมันจะเกาะ และกัดใครคนใดคนหนึ่งอย่างยาวนาน ก็ต่อเมื่อคนๆ นั้น ยัง “ไม่รู้สึกตัว” ต่อเมื่อเรารู้สึกตัวนั่นแหละ วันเวลาของทากตัวนั้นก็ย่อมจะหมดลง คนที่ยังปล่อยให้อดีตอันปวดปร่า มาทำร้ายชีวิตในปัจจุบันขณะได้ ก็คือคนที่ “ยังไม่รู้สึกตัว” เท่านั้น สำหรับคนที่ “รู้สึกตัว” อยู่เสมอ ไม่มีทางหรือเป็นไปไม่ได้เลยที่คมมีดแห่งอดีต จะกรีดใจให้เจ็บปวด |
คำว่า “รู้สึกตัว” ไม่ได้หมายความตื้นๆ แค่การรู้สึกตัวอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ของคนที่ยังไม่หลับ ไม่เมา ไม่สมประกอบ
แต่หมายถึง การ “มีสติ” อยู่ตลอดเวลาที่คิด พูด ทำ
คนที่คิดก็รู้ว่ากำลังคิด พูดก็รู้ว่ากำลังพูด ทำก็รู้ว่ากำลังทำ
เดินก็รู้ว่ากำลังเดิน กินก็รู้ว่ากำลังกิน ฯลฯ
สติคมชัดอยู่ตลอดเวลาที่ตาตื่น กายเคลื่อนไหว ใจครุ่นคิด
จนกระทั่งสามารถที่จะคิดอย่างประณีต พูดอย่างประณีต และทำอย่างประณีตโดยอัตโนมัติ
ถึงขั้นที่ใจไม่ลอยออกไปจากเรื่องที่คิด กิจที่ทำ คำที่พูด
หากแต่มีสติเต็มอยู่ตลอดเวลาในลักษณะ “ตัวอยู่ไหน ใจอยู่นั่น”
ทำได้อย่างนี้ จึงจะเรียกว่าเป็นคนที่ “รู้สึกตัว”
คนที่มีความรู้สึกตัวอย่างนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคนที่ “ตื่นรู้” ก็ได้
เมื่อตื่นรู้ อดีตก็ล่วงเข้ามาสู่ความครุ่นคิดไม่ได้
ในใจจึงมีแต่ความ “รู้สึกตัว” อยู่ในปัจจุบันขณะเท่านั้น
การทำได้เช่นนี้ คือวิธีที่ความหลังไม่มีทางจะเกาะแกะกับจิตใจได้อีกเลย
อย่าลืมว่า ความขาดสติ คือ ยาชุบชีวิตชั้นดีของความผิดบาปในอดีต
และความรู้สึกตัว ก็คือมีดผ่าตัดที่สามารถหยุดอดีตเอาไว้ให้ไม่มีตัวตน
แต่หากทำเช่นนี้ไม่ได้ ก็ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ดังนี้
(๑) หาอะไรทำอยู่เสมอ
การทำงานอยู่เสมอ คือ วิธีแยกจิตออกมาจากความหลัง
เมื่อพรากจิตจากความหลังมาอยู่กับการทำงานจนชิน จิตก็ไม่ฟุ้ง ไม่ย้อนกลับไปในอดีตอีก
เมื่อจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า จิตก็ผ่องใส
หากทำได้บ่อยๆ ความเข้มข้นของบาปในอดีตก็จะเจือจางลงไปโดยอัตโนมัติ
(๒) ฝึกสมถสมาธิ
กล่าวคือ ฝึกสมาธิด้วยการบริกรรมหรือการเพ่งอะไรก็ได้ที่ทำให้จิตใจมีที่ พัก ที่เกาะ ที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยว
วิธีที่นิยมใช้ก็คือ การบริกรรม “พุท” เวลาหายใจเข้า และ “โธ” เวลาหายใจออก
หรือจะใช้คำอื่นใดก็ได้ที่เมื่อบริกรรมในใจแล้ว ทำให้จิตหายฟุ้งซ่าน แน่วแน่ เป็นหนึ่ง ผ่องใส
เมื่อฝึกจนจิตนิ่ง และผ่องแล้ว จิตจะมีความสุขอยู่กับ ปีติสุข มีความแช่มชื่นเบิกบาน ผ่อนคลาย
เมื่อจิตได้กำซาบความสุชนิดใหม่ที่เกิดจาก สมาธิภาวนาอยู่เสมอแล้ว
ความผิดบาปในใจก็ไม่ลอยฟุ้งซ่านมากัดกร่อนปัจจุบันได้ อย่างเดิมอีก
(๓) ฝึกวิปัสสนาสมาธิ
... | ได้แก่การหาโอกาสพาตัวเองไป “เข้าเงียบ” กับครูบาอาจารย์ทางด้านวิปัสสนาอย่าง เข้มข้น เมื่อฝึก “ดูใจ” ตัวเองจนรู้เท่าทันอาการทางจิต เช่น คิดก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ กลัวก็รู้ มัวหมองก็รู้ ผ่องใสก็รู้ ฯลฯ เมื่อเราสามารถอ่านความเป็นไปของจิต ได้ อย่างละเอียดลออลึกซึ้ง ถึงขั้นพอจิตกระเพื่อม ใจก็ตัดฉับ รู้เท่าทัน จนเหลือแต่ ตัว “สติ” ล้วนๆ อยู่ตลอดเวลา หากทำได้ดังว่าเช่นนี้ คุณก็เหมือนคนที่ “ตื่นแล้ว” จากความหลังอันทุกข์ตรมขมไหม้โดยสิ้นเชิง |
ในสังคมไทยทุกวันนี้ มีคน ที่จมอยู่ในอดีตจำนวนมาก
ที่ได้พรากตัวเองออกจากอดีตอันแสนเจ็บปวดด้วยการ ฝึกวิปัสสนากรรมฐา
แล้วต่างก็ค้นพบว่า คนเราสามารถเป็นอิสระได้ไม่ใช่แค่ จากอดีตที่ไม่อยากจำเท่านั้น
ทว่าเรายังสามารถเป็นอิสระได้แม้จากความทุกข์ทุกชนิดที่คอยบั่นทอนชีวิตให้ขาดชีวาได้อีกด้วย
ทั้งนี้ โดยวิธีง่ายๆ ที่ เรียกว่า การดูใจตัวเอง (วิปัสสนาสมาธิ) ให้เป็นเท่านั้น
............................
(จากนิตยสารแพรว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สวัสดีค่ะ